ความเครียด ไม่มีใครไม่รู้จัก ยิ่งสภาพสังคมในปัจจบัน ปัญหานานาชนิดต่างถาโถมเข้ามาให้เราต้องแก้ไขไม่ได้หยุดหย่อน เพื่อเรามีภาวะกดดันสะสม ก็จะเกิดความเครียด แต่จะเครียดมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะ "ปล่อยวาง" ได้มากน้อยแค่ไหน
สาเหตุของความเครียดเราแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
ประเภทแรก เครียดเฉียบพลัน จะส่งผลรบกวนจิตใจเพียงแค่สั้น ๆ เมื่อเราผ่านเหตุการณ์นั้น ๆ ไปได้ ก็จะหยุด เช่น เครียดเพราะรถติด เครียดเพราะหาของไม่เจอ เป็นต้น
ประเภทที่สอง เครียดสะสม มักเกิดจากความคิดที่ว่าไม่มีใครสามารถช่วยเหลือได้ หรือแม้แต่ตัวเองก็ไม่สามารถควบคุมหรือแก้ปัญหานั้น ๆ ได้เช่นกัน เป็นความคาดหวังและยึดมั่นถือมั่นมากเกินไป หรืออาจเกิดจากความกังวลกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึงเกิดเหตุ ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน และเกิดขึ้นเป็นประจำ เช่น ชีวิตครอบครัว หน้าที่การงาน หรือภาวะเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ ผลข้างเคียงที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามธรรมชาติ เช่น อาการก่อนการมีประจำเดือน (PMS) ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตร เป็นต้น
ความเครียดสามารถส่งสัญญาณเตือนทางร่างกายและจิตใจได้หลายรูปแบบ เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูก ท้องเสีย อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว อารมณ์ฉุนเฉียว ร้องไห้บ่อย เบื่ออาหาร ซึมเศร้า เป็นต้น
เมื่อความเครียดเกิดขึ้น เราสามารถควบคุมได้ ด้วยเทคนิคต่อไปนี้
เมื่อความเครียดเกิดขึ้น เราสามารถควบคุมได้ ด้วยเทคนิคต่อไปนี้
- เปลี่ยนมุมมองต่อประเด็นปัญหา ตั้งสติหามุมสงบให้ตัวเอง แล้วพิจารณาด้วยปัญญา ว่าสามาเหตุมาจากอะไร ผลกระทบที่เกิดขึ้นคืออะไร ปัญหานี้คุณสามารถแก้ได้หรือไม่ ด้วยวิธีใด ถ้าปัญหานั้น คุณสามารถควบคุมและแก้ไขมันได้ ค่อย ๆ ทำไปทีละส่วน ใจเย็น ๆ อย่าสร้างความกดดันด้วยตัวเอง แต่ถ้าอยู่เหนือจากความควบคุมของคุณ ก็ควรปล่อยวางและทำใจ ทำหน้าที่ของคุณให้ดีที่สุดเท่านั้นพอ
- เล่าสู่กันฟัง เพื่อบรรเทาปัญหา ลดความเครียดคุณได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะครอบครัว คนสนิทที่ไว้ใจได้ ถ้าเป็นเรื่องงาน ให้คุยกับหัวหน้างาน คุณจะได้รับคำแนะนำและกำลังใจดี ๆ กลับมา
- ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน จัดเอกสารให้เป็นระเบียบ ทำความสะอาดโต๊ะทำงาน หาของตกแต่งเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างต้นไม้ต้นเล็ก ๆ ตลอดจนกับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานเช่น ไม่มาทำงานสาย หรือทำงานเครียดจนกลับบ้านดึกดื่น เป็นต้น
- พักผ่อนเสียบ้าง เพื่อเติมพลังกายและใจให้กับตัวเอง บางครั้งร่างกายและจิตใจของคุณก็ต้องการพักร้อนบ้าง แม้แต่การออกกำลังกายให้ร่างกายหลังสารเอ็นดอร์ฟิน จะทำให้จิตใจสดชื่นขึ้น และดีต่อร่างกายด้วย หรือถ้ามีโอกาสไปทำบุญ หรือทำกินกิจกรรมเพื่อสังคมและผู้ด้อยโอกาส หรือทำงานอดิเรกร่วมกับครอบครัวหรือเพื่อน ๆ ก็เป็นการผ่อนคลายสภาพจิตได้ดีทีเดียว
- ทานอาหารที่ดี อาหารเป็นปัจจับหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีได้ มี อาหารต้านเครียด มากมาย ให้เราได้เลือกตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีกากใยสูง อย่างข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ข้าวเหนียว กรอย มัน ที่มีวิตามินและเซโรโทนินสูง ทานผักใบเขียว ผลไม้สีสด ๆ ที่ให้วิตามินซี มีสารต้านอนุมูลอิสระและกากใยสูง ลดปริมาณไขมัน เกลือ น้ำตาล งดดื่มชา กาแฟและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สุขภาพกายดี สุขภาพจิตดีด้วย
- ลองเข้าร่วมกิจกรรมที่ต้องการกำลังใจจากคุณ เพื่อต่อสู้กับปัญหาต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้คุณรู้สึกว่า เมื่อพวกเขาเหล่านั้น ไม่ท้อกับปัญหาที่หนักหนากว่าคุณหลายเท่าแล้ว คุณก็ไม่ควรยอมแพ้ และเข้าใจว่าทุกคนล้วนมีความปัญหา มีความเครียดให้ต้องแก้ไขกันทั้งนั้น ดีไม่ดี คุณอาจพบว่าปัญหาที่คุณประสบอยู่เล็กน้อยไปเลย
- ปรึกษาสายด่วน หรือพบจิตแพทย์ ถ้าคุณพบว่าคุณเริ่มเครียดจนมีผลต่อการดำเนินชีวิตในตัวคุณ หรือรู้สึกเครียดเรื้อรัง โดยอาจพบจิตแพทย์ หรือโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1667 ในขั้นต้นก่อนก็ได้
ปัญหาทุกอย่างย่อมมีทางแก้ ขอให้ตั้งสติให้ดี มองโลกในดีเข้าไว้ แล้วลองปฏิบัติตามคำแนะนำ น่าจะช่วยให้คุณขจัดความเครียดได้อยู่หมัด และมีสุขภาพจิตดีด้วย